การใช้ EA ในการลงทุนเทรด Forex : เริ่มต้นยังไง? แบคเทสยังไง? ซื้อ EA ที่ไหน?

การใช้ EA ในการลงทุนเทรด Forex

EA คืออะไร? ทำงานอย่างไร?

  • EA ย่อมาจาก Expert Advisor เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์ตลาดและตัดสินใจซื้อขาย Forex โดยอัตโนมัติ
  • เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือ EA เปรียบเสมือผู้ช่วยของเทรดเดอร์ที่ทำครบทุกขั้นตอนของการเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมงนั่นเอง
  • หลักการทำงานของ EA
  • วิเคราะห์ตลาด: EA จะใช้ฐานข้อมูลราคาในอดีต ทั้งรูปแบบการเคลื่อนที่และปัจจัยทางเทคนิคต่างๆ มาวิเคราะห์
  • ตัดสินใจซื้อขาย: เมื่อมองเห็นโอกาส EA จะใช้กลยุทธ์การเทรดที่ตั้งโปรแกรมไว้ ตัดสินใจเปิด/ปิดคำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ
  • จัดการความเสี่ยง: EA บางตัวสามารถตั้งค่าระบบ Take Profit และ Stop Loss อัตโนมัติเพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการเทรด

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ EA ในการเทรด Forex

หัวข้อ ข้อดี ข้อเสีย
ความสะดวก – ประหยัดเวลา ไม่ต้องนั่งเฝ้าตลาดเอง

– ทำงาน 24/7 เทรดได้ทุกที่ทุกเวลา

– ต้องตั้งค่า EA ไว้ล่วงหน้า

– อาจต้องปรับแต่ง EA ให้เหมาะกับสภาวะตลาด

อารมณ์ – ตัดสินใจโดยโปรแกรม ไม่ใช้อารมณ์

– ลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจผิดพลาดเพราะอารมณ์

– EA อาจตัดสินใจผิดพลาดได้เช่นกัน

– นักเทรดยังต้องควบคุมอารมณ์เมื่อวิเคราะห์ผลการเทรดของ EA

ความรู้ – นักเทรดไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรด Forex – นักเทรดต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ EA และการเทรด Forex

– ต้องเข้าใจกลยุทธ์การเทรดที่ใช้ใน EA

ต้นทุน – ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับแพลตฟอร์มการเทรดบางแพลตฟอร์ม – อาจมีค่าใช้จ่ายในการซื้อหรือเช่า EA

– ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ในบางกรณี

ผลการเทรด – สามารถแบ็คเทสกลยุทธ์การเทรดก่อนใช้งานจริง

– EA บางตัวมีประวัติผลการเทรดที่พิสูจน์ได้

– ผลการเทรดในอดีตไม่ได้การันตีผลลัพธ์ในอนาคต

– EA อาจทำงานได้ไม่ดีในสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง

ความเสี่ยง – สามารถจำกัดความเสี่ยงด้วยระบบ Take Profit และ Stop Loss อัตโนมัติ – EA อาจตัดสินใจผิดได้เช่นกัน

– ความเสี่ยงจากการถูกโกงจากผู้ขาย EA ที่ไม่ดี

ตารางเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของ EA

เริ่มต้นใช้ EA เทรด Forex อย่างไร?

ขั้นตอนพื้นฐานในการเริ่มต้นใช้ EA เทรด Forex

  • ศึกษาความรู้เกี่ยวกับ EA
  • ศึกษาหลักการทำงานของ EA ประเภทของ EA กลยุทธ์การเทรดที่ใช้
  • เรียนรู้วิธีการอ่านโค้ด EA
  • เลือกโบรกเกอร์ที่รองรับการเทรด EA
  • เลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตถูกต้อง
  • เลือกโบรกเกอร์ที่รองรับการเทรดแบบ EA ที่ต้องการ
  • เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์
  • เลือก EA ที่เหมาะสม
  • พิจารณากลยุทธ์การเทรดของ EA
  • แบ็คเทส EA บนข้อมูลย้อนหลัง
  • วิเคราะห์ผลการเทรดในอดีตของ EA
  • ติดตั้ง EA บนอุปกรณ์ที่ต้องการใช้เทรด
  • ทดสอบการทำงานของ EA บนบัญชีทดลอง
  • เปิดบัญชีทดลองกับโบรกเกอร์
  • ทดสอบการทำงานของ EA บนบัญชีทดลอง
  • วิเคราะห์ผลการเทรด
  • ปรับแต่ง EA ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดก่อนเริ่เทรดจริง

โบรกเกอร์ที่ให้บริการรองรับการเทรดด้วย EA

  • EXNESS
  • XM
  • FBS
  • TICKMILL
  • IC Markets
  • IUX
  • GMI
  • Eightcap

กลยุทธ์การเทรด Forex ด้วย EAกลยุทธ์การเทรด Forex แบบพื้นฐานที่ใช้กับ EA

  • การเทรดตามแนวโน้ม (Trend Trading): EA จะวิเคราะห์ทิศทางของตลาด และเปิด/ปิดคำสั่งซื้อขายตามแนวโน้ม
  • การเทรดช่วง (Range Trading): EA จะซื้อขายในกรอบราคาที่กำหนด โดยทำกำไรจากราคาที่ขึ้นๆ ลงๆ
  • การเทรดแบบ Grid Trading: EA จะเปิดคำสั่งซื้อขายหลายๆ คำสั่ง โดยกระจายระยะห่างกัน เพื่อลดความเสี่ยง

แนะนำกลยุทธ์การเทรด Forex ด้วย EA ที่เทรดเดอร์นิยมใช้

  • EA Martingale: กลยุทธ์นี้ใช้หลักการเพิ่มเงินเป็นเท่าตัวสำหรับการเทรด เมื่อเกิดการขาดทุน กลยุทธ์นี้ออกเป็นแนวการพนันมากกว่าเทรดด้วยเหตุผล แต่ต้องยอมรับเป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์
  • EA Grid Trading: กลยุทธ์นี้ใช้หลักการกระจายความเสี่ยง โดยเปิดคำสั่งซื้อขายหลายๆ คำสั่ง กระจายไปทั้งทิศขาลงและขาขึ้นเหมาะกับตลาดที่มีกรอบราคาชัดเจน
  • EA Scalping: กลยุทธ์นี้ใช้หลักการทำกำไรเล็กน้อยแต่บ่อยครั้ง เหมาะกับตลาดที่มีสภาพคล่องสูง คอยเก็นกำไรบ่อยครั้งในแต่ละครั้ง
  • EA Carry Trade: กลยุทธ์นี้ใช้หลักการนำสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อมาซื้อขายสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง โดยทำกำไรจากส่วนต่างของดอกเบี้ย เหมาะกับตลาดที่มีความผันผวนต่ำ

การแบ็คเทส EA เทรด Forex คืออะไร?

  • การแบ็คเทส EA เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของ EA โดยใช้ข้อมูลราคาในอดีต เปรียบเมือนการจำลองการทำงานของ EA ว่าจะทำกำไรหรือขาดทุนหากนำไปเทรดจริง(ซึ่ง แบ็คเทสอ้างอิงจากราคาในอดีต)
  • วิธีการแบ็คเทส EA บนแพลตฟอร์มเทรด
  • เลือกดาวน์โหลด EA: เลือก EA ที่ต้องการทดสอบ ดาวน์โหลดไฟล์ EA
  • ติดตั้ง EA บนแพลตฟอร์มเทรด: เปิดแพลตฟอร์มเทรด ติดตั้ง EA ตามขั้นตอนที่ทางแหล่งต้นทางแนะนำ
  • ตั้งค่าการแบ็คเทส: เลือกช่วงเวลาข้อมูลราคา ตั้งค่าพารามิเตอร์ของ EA เลือกโหมดการแบ็คเทส ซึ่งโดยทั่วไปเมนูจะอยู่ด้านบน ไอคอนรูปแว่นขยาย
  • เริ่มการแบ็คเทส: คลิกปุ่ม “Start” รอจนกว่าการแบ็คเทสจะเสร็จสิ้น
  • วิเคราะห์ผลการแบ็คเทส: ดูผลลัพธ์การแบ็คเทส วิเคราะห์ว่า EA ทำกำไรหรือขาดทุน ประเมินความเสี่ยง และพิจารณาปรับแต่ง EA
  • ตัวอย่างแพลตฟอร์มเทรดที่รองรับการแบ็คเทส EA
  • MetaTrader 4 (MT4)
  • MetaTrader 5 (MT5)
  • cTrader
  • แพลตฟอร์มของโบรกเกอร์

ฟังก์ชั่น Back Test ของโบรกเกอร์ Exness

วีดีโอรีวิวการทำแบ็คเทสบน MT 4

วิดีโอที่ชื่อว่า How to Backtest an EA in MT4 (Complete Guide) เป็นวิดีโอที่เทรดเดอร์รายหนึ่งกำลังสอนและอธิบายการทำแบ็คเทสการเทรด Forex บนแพลตฟอร์ม MT 4 แบบละเอียด (เริ่มโฟกัสนาทีที่ 0:29) โดยเทรดเดอร์คนนี้เริ่มต้นการ setup แบ็คเทสให้ดูก่อน ปรับพารามิเตอร์ตามที่ต้องการ เมื่อเริ่มทำการรันกราฟแล้วก็จะโชว์ผลลัพธ์การเทรดของ EA ตัวที่เขาใช้ว่ามีคำสั่งอะไรบ้าง คำสั่งไหนได้กำไรบ้าง ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการวิเคราะห์ผลงานรวมของ EA และปรับการตั้งค่าให้เหมาะสม

ซื้อ EA เทรด Forex ที่ไหนดี?

  • แหล่งซื้อขาย EA เทรด Forex ที่น่าเชื่อถือ
  • เว็บไซต์ขาย EA: ควรเลือกเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือ มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริง และมีระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย
  • โบรกเกอร์ Forex: โบรกเกอร์ Forex บางราย มีบริการขาย EA เทรดเดอร์ควรเปรียบเทียบราคาและผลการแบ็คเทส ก่อนตัดสินใจซื้อ
  • กลุ่ม Facebook เกี่ยวกับ EA Forex : ใน Facebook จะมีกลุ่มชุมชนนักเทรดที่เทรดเดอร์สามารถเข้าหาซื้อโปรแกรม EA จากกลุ่มนี้ได้ แต่ต้องระวังการซื้อขายกับมิจฉาชีพ
  • เว็บบอร์ดการเทรด: ในเว็บบอร์ดที่เทรดเดอร์มักจะใช้ตั้งกระทู้เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเทรด มักมีผู้ใช้ EA มาแบ่งปันประสบการณ์ แนะนำ EA และขาย EA

การติดตามผลและประเมินผลการเทรดด้วย EAวิธีเบื้องต้นสำหรับการติดตามผลการเทรดด้วย EA

  • บันทึกผลการเทรด: บันทึกข้อมูลการเทรดทั้งหมด เช่น วันที่ เวลา คู่เงิน ประเภทคำสั่ง ราคา ผลกำไร/ขาดทุน
  • วิเคราะห์ผลการเทรด: วิเคราะห์ข้อมูลการเทรด คำนวณ Gain/Loss Drawdown Sharpe Ratio Win Rate เป็นต้น
  • ประเมินประสิทธิภาพของ EA: วิเคราะห์ว่า EA ทำงานได้อย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ตรงกับกลยุทธ์การเทรดหรือไม่
  • ปรับแต่ง EA: หากผลการเทรดไม่เป็นที่น่าพอใจ อาจต้องปรับแต่ง EA เช่น ปรับพารามิเตอร์ เปลี่ยนกลยุทธ์การเทรด หรือเปลี่ยน EA ใหม่
  • เครื่องมือติดตามผลการเทรด : MetaTrader 4 (MT4) , MetaTrader 5 (MT5) , cTrader และ Myfxbook เป็นต้น

การวิเคราะห์ผลการเทรด

  • วิเคราะห์ Gain/Loss: Gain/Loss บ่งบอกถึงกำไร/ขาดทุนโดยรวมของ EA
  • วิเคราะห์ Drawdown: Drawdown บ่งบอกถึงจำนวนเงินสูงสุดที่ EA สูญเสียต่อเนื่อง
  • วิเคราะห์ Sharpe Ratio: Sharpe Ratio บ่งบอกถึงความสามารถของ EA ในการสร้างผลตอบแทน เทียบกับความเสี่ยง
  • วิเคราะห์ Win Rate: Win Rate บ่งบอกถึงเปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อขายที่ทำกำไร
  • วิเคราะห์สาเหตุของการเทรดผิดพลาด: วิเคราะห์ว่าทำไม EA ถึงเทรดผิดพลาด เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การเทรด
  • ข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นสามารถใช้ชี้วัดคุณภาพของ EA ที่ใช้เทรดได้ว่ามีคุณสมบัติและประสิทธิภาพมากแค่ไหน

หน้าตาของ My FX Book

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ EA เทรด Forex

  • EA ทำงานผิดพลาด: EA แม้ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังมีการทำงานผิดพลาดจนเกิดการสูญเสียเงินได้ทุกเมื่อ
  • กลยุทธ์การเทรดไม่เหมาะสม: กลยุทธ์การเทรดกับ EA อาจไม่เหมาะกับสภาวะตลาด เนื่องจากสภาวะตลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
  • ความเสี่ยงทางเทคนิค: แพลตฟอร์มเทรดหรือเซิร์ฟเวอร์อาจมีปัญหา จนเกิดการสูญเสียทางโอกาสในการเทรดหรือสูญเสียเงิน
  • การถูกโกง: มีมิจฉาชีพที่หลอกขาย EA มากมาย ซึ่งต้องใช้ความรอบคอบระมัดระวังสูงก่อนตัดสินใจซื้อ EA

แนวทางป้องกันความเสี่ยงในการใช้ EA เทรด Forex

  • เลือก EA จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ: ศึกษาและหาข้อมูลจากรีวิวที่น่าเชื่อถือ วิเคราะห์ผลการแบ็คเทสในหลายๆ ช่วงเวลา และทดสอบ EA บนบัญชีทดลองก่อนใช้งานจริง
  • ใช้ EA ควบคู่กับกลยุทธ์การเทรด: ไม่ควรพึ่งพา EA เพียงอย่างเดียว ควรมีกลยุทธ์การเทรดและความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการเทรดติดตัว
  • ตั้งค่า Stop Loss: ตั้งค่า Stop Loss เพื่อจำกัดความเสี่ยง ในกรณีที่ EA ทำงานผิดพลาด
  • ติดตามผลการเทรดอย่างสม่ำเสมอ: ติดตามผลการเทรด วิเคราะห์ประสิทธิภาพของ EA และปรับแต่ง EA เมื่อจำเป็น

สรุป

รูปแบบการเทรด Forex ในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าและนำเทคโนโลยีหลายรูปแบบมาปรับใช้เพื่อทำกำไรจากตลาดที่สุดจะผันผวนแห่งนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการใช้ EA เพื่อทำกำไร เทรดเดอร์ส่วนมากมีกลยุทธ์ที่รองรับไว้สำหรับ EA โดย EA จะมาทำหน้าที่เป็นเทรดเดอร์แทนตัวเราตามคำสั่งและการทดสอบ(Back test) ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้

การทำแบ็คเทสนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการใช้งาน EA เพราะมันเปรียบเสมือนการทดสอบประสิทธิภาพของ EA นั้นไปในตัว และอีกสิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญเมื่อเลือกใช้ EA คือ แหล่งที่มาของการซื้อขาย EA ควรเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีการรีวิวการใช้งานจากผู้ใช้งานจริง และระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยระบบชำระเงิน

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *