เข้าใจผลกระทบของนโยบายการเงินต่อตลาด Forex แบบง่ายๆ

นโยบายการเงินต่อตลาด Forex

การเคลื่อนไหวของตลาด Forex เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ การเปลี่ยนแปลง นโยบายการเงิน จากธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าเงินของแต่ละประเทศ และส่งผลต่อตลาด Forex โดยภาพรวม

ผู้เล่นในตลาด Forex จำเป็นต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อคาดการณ์ทิศทางของตลาดและตัดสินใจลงทุน หัวข้อวันนี้อาจจะดูยากไปบ้าง แต่มีความสำคัญกับเทรดเดอร์ทุกคนในตลาดForex วันนี้ทีมงานสรุปมาให้อ่านง่ายๆ เข้าใจกันได้แน่นอนครับ

นโยบายการเงินคืออะไร

  • นโยบายการเงินคือ เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้ควบคุมดูแลเศรษฐกิจ
  • โดยมีเป้าหมายคือ การรักษาเสถียรภาพของราคา (ลดเงินเฟ้อ) และการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในระยะยาว
  • โดยทั่วไปแล้ว นโยบายการเงินเปรียบเสมือนตัวควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลต่อทุกภาคส่วน ทั้งผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาคธนาคาร

ประเภทของนโยบายการเงิน

  • นโยบายการเงินแบบหดตัว หรือ แบบเข้มงวด
  • มุ่งเน้นการลดปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจใช้ควบคู่กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • เป้าหมายคือการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้การกู้ยืมเงินยากและมีราคาดอกเบี้ยแพง ส่งผลให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจลดการใช้จ่ายและการลงทุน
  • นโยบายการเงินแบบขยายตัว
  • มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหรือลดอัตราดอกเบี้ย
  • เป้าหมายคือกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต
  • โดยนโยบายนี้มีแนวทางคือให้ต้นทุน(รวมถึงดอกเบี้ย)การกู้ยืมที่ถูกลง จะช่วยส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจมีการใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้น

ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่มีผลต่อตลาด Forex
1. อัตราดอกเบี้ย

  • อัตราดอกเบี้ย คือเครื่องมือสำคัญที่ธนาคารกลางใช้ควบคุมทิศทางเศรษฐกิจและค่าเงิน
  • การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลต่อ พฤติกรรมของนักลงทุน
  • การขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • ดึงดูดเงินทุนต่างประเทศ ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
  • นักลงทุนต่างชาติจะนำเงินมาลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
  • สภาพคล่องลดลง ช่วยควบคุมเงินเฟ้อ
  • การลดอัตราดอกเบี้ย
  • กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เงินทุนไหลออก ค่าเงินอ่อนค่าลง
  • กระตุ้นการลงทุนและการบริโภค เศรษฐกิจเติบโตเร็วขึ้น
  • เงินในระบบเศรษฐกิจมี สภาพคล่อง มากขึ้นอาจจะส่งผลให้เกิด ภาวะเงินเฟ้อ

2. การแทรกแซงตลาด

  • ธนาคารกลางจะควบคุมค่าเงินโดยตรง จากการ ซื้อหรือขาย สกุลเงินในตลาด
  • จุดประสงค์เพื่อปรับอุปสงค์และอุปทาน ส่งผล ต่อค่าเงินของประเทศนั้นๆ
  • การซื้อ/ขายสกุลเงิน ของธนาคารกลาง :
  • ธนาคารกลางซื้อสกุลเงิน: เพิ่ม อุปสงค์ ของสกุลเงิน ค่าเงินนั้นจะแข็งค่าขึ้น
  • ธนาคารกลางขายสกุลเงิน: เพิ่ม อุปทาน ของสกุลเงิน ค่าเงินนั้นจะอ่อนค่าลง
  • การแทรกแซงด้วยวาจา:
  • ธนาคารกลาง แถลงหรือส่งสัญญาณ เกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงิน
  • ส่งผลต่อความคาดหวังของนักลงทุน ทำให้กระตุ้นหรือกดดันค่าเงิน

3. การพิมพ์เงิน

  • การพิมพ์เงิน คือการผ่อนคลายทางการเงินอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้ เพิ่มปริมาณเงิน
    ที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
  • โดยการ ซื้อพันธบัตร หรือ สินทรัพย์อื่นๆ จากภาคเอกชน
  • เมื่อมีเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น อุปทาน ของสกุลเงินจะ เพิ่มขึ้น ค่าเงินของประเทศนั้นๆ จะอ่อนค่าลง
  • เมื่อมีเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ผู้คนมีกำลังซื้อมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการจะสูงขึ้น อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ

4. สถานการณ์เศรษฐกิจ

  • เศรษฐกิจเติบโต
  • ก็จะดึงดูดนักลงทุนนักลงทุนมีความมั่นใจเชื่อมั่น คาดหวัง ผลตอบแทน ที่ดีนำเงิน มาลงทุนในประเทศ
  • และนักลงทุนจะซื้อสกุลเงินของประเทศนั้น ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น
  • ปัจจัยชี้วัดเสรษฐกิจของประเทศ เช่น เช่น GDP อัตราการจ้างงาน
  • เศรษฐกิจถดถอย
  • เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว นักลงทุนมีความกังวล และถอนเงินออกจากประเทศ
  • หรือ ขายสกุลเงินของประเทศนั้น ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง

5. เหตุการณ์ทางการเมือง

  • เหตุการณ์ทางการเมืองเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลต่อราคาในตลาด Forex และทำให้ค่าเงินผันผวน
  • การเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งอาจเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
    ค่าเงินผันผวนสูง
  • การประท้วง ความวุ่นวายทางการเมือง ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ ค่าเงินอ่อนค่าลง
  • สงคราม สร้างความเสี่ยงและผลกระทบต่อเศรษฐกิจแบบรุนแรง นักลงทุนเทขายสินทรัพย์จากความกังวล ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายกะทันหัน จะสร้างความไม่แน่นอนในเศรษกิจ ใส่งผลให้นักลงทุนเทขาย ค่าเงินผันผวน

6. นโยบายการเงินต่างประเทศ

  • นโยบายการเงินต่างประเทศอาจจะยังไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อตลาด Forex เท่าปัจจัยอื่นๆ แต่ก็สามารถสร้างผลกระทบต่อค่าเงินได้เช่นกัน
  • โดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่นักลงทุนใช้ติดตามและวิเคราะห์ราคาค่าเงินด้วยเช่นกัน
  • ตัวอย่างนโยบายการเงินต่างประเทศ เรื่องดอกเบี้ย
  • ประเทศที่มี อัตราดอกเบี้ยสูง ดึงดูด เงินทุนจากต่างประเทศ ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
  • ประเทศที่มี อัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินทุน ไหลออกนอกประเทศ ค่าเงินอ่อนค่าลง
  • ตัวอย่างนโยบายการเงินต่างประเทศ แบบผ่อนคลาย
  • ประเทศต่างๆ ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจโลก
  • นักลงทุนเทขายสกุลเงินปลอดภัย หันมาซื้อสินทรัพย์หลากหลายชนิด ค่าเงินอ่อนค่าลง

7. สถิติเศรษฐกิจ

  • สถิติทางเศรษฐกิจคือสิ่งนักลงทุนใช้ในการประเมินต่อการเลือกลงทุนในค่าเงินประเทศนั้นๆ
  • ตัวอย่างสถิติตัวชี้วัดเศณษฐกิจ
  • GDP (ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)
  • อัตราการว่างงาน
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขเหล่านี้มีผลกระทบต่อค่าเงิน
  • ตัวเลขสถิติดี นักลงทุนมีมั่นใจและคาดหวังผลตอบแทนสูง จึงนำเงินมาลงทุน ค่าเงินแข็งค่า
  • ตัวเลขสถิติแย่ จะเป็นเหมือนการตรงกันข้ามต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ค่าเงินอ่อนค่าลง

8. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

  • นักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นสูงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆมีแนวโน้มที่จะ เข้าซื้อสกุลเงิน
    ส่งผลต่อค่าเงิน ของประเทศนั้น
  • ความเชื่อมั่นสูง: นักลงทุนเข้าซื้อ จากการมองเห็นสัญญาณต่างๆ ที่ดี ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
  • ความเชื่อมั่นต่ำ: นักลงทุนเทขาย จากการมองเห็นความเสี่ยงของการลงทุนต่อค่าเงิน ส่งผลให้ ค่าเงินอ่อนค่าลง

9. ปัจจัยทางจิตวิทยา

  • ปัจจัยทางจิตวิทยาของนักลงทุนมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมในตลาด Forex
  • การตัดสินใจซื้อขายของนักลงทุน ส่งผลต่อราคาในตลาด Forex ในระดับหนึ่ง
  • อารมณ์นักลงทุน
  • ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขาย การวิเคราะห์ ตัดสินใจ กระทบต่อ การกระตุ้น/กดดัน ค่าเงิน
  • ตัวอย่าง:นักลงทุนไม่มั่นใจ เทขาย ทำค่าเงินอ่อนค่า / นักลงทุนมั่นใจ ซื้อค่าเงินทำให้ ค่าเงินแข็งค่า
  • การเก็งกำไร:
  • นักลงทุนเก็งกำไรซื้อขายเยอะ กระตุ้นความผันผวนทำให้ค่าเงินแกว่งตัว
  • ตัวอย่าง:นักลงทุนเก็งกำไรเงินเยน ส่งผลให้เงินเยน ผันผวน

วีดีโออธิบายการส่งผลกระทบต่อ Forex จากนโยบายการเงิน

จากคลิปจะเห็นได้ว่า ยูทูปเบอร์กำลังอ้างอิงตัวเลขเศรษฐกิจจากเว็บไซต์ Forex Factory พร้อมกับอธิบายการส่งผลกระทบต่อค่าเงิน ซึ่งในคลิปจะเกี่ยวกับสกุลเงิน EUR (ยูโร) และ USD (ดอลลาห์ สหรัฐ) โฟกัสตั้งแต่นาทีที่ 0:50 เป็นต้นไป จากข่าว Minimum Bid Rate และ ECB Press conference ซึ่งจะกระทบค่าเงินสกุล ยูโรอย่างมาก

ตารางสรุปภาพรวม

ปัจจัย ผลกระทบต่อค่าเงิน ตัวอย่าง
เศรษฐกิจ เศรษฐกิจเติบโต: ดึงดูดนักลงทุน ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

เศรษฐกิจถดถอย: เงินทุนไหลออก ค่าเงินอ่อนค่าลง

GDP อัตราการจ้างงาน ดัชนีการผลิต
การเมือง เหตุการณ์ทางการเมือง: กระตุ้นความผันผวน ค่าเงินแกว่งตัว

ความไม่แน่นอนทางการเมือง: นักลงทุนเทขาย ค่าเงินอ่อนค่าลง

การเลือกตั้ง การประท้วง สงคราม
นโยบายการเงินต่างประเทศ เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย: ดึงดูด/กระจายเงินทุน ส่งผลต่อค่าเงิน

นโยบายผ่อนคลาย: กระตุ้นเศรษฐกิจโลก ค่าเงินอ่อนค่าลง

อัตราดอกเบี้ย นโยบาย QE
สถิติเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ: บ่งบอกทิศทางเศรษฐกิจ กระตุ้น/กดดันค่าเงิน

ข้อมูลเศรษฐกิจแข็งแกร่ง: ดึงดูดนักลงทุน ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

GDP อัตราการว่างงาน ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ความเชื่อมั่นสูง: นักลงทุนเข้าซื้อ ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ความเชื่อมั่นต่ำ: นักลงทุนเทขาย ค่าเงินอ่อนค่าลง

ข่าวสาร เศรษฐกิจ นโยบายการเงิน
ปัจจัยทางจิตวิทยา อารมณ์นักลงทุน: ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขาย กระตุ้น/กดดันค่าเงิน

การเก็งกำไร: เพิ่มความผันผวน ค่าเงินแกว่งตัว

อารมณ์ ความกลัว ความโลภ

สรุป

จากข้อมูลข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า นโยบายการเงินนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะส่งผลต่อตลาด Forex ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยความสำคัญของนโยบายการเงินต่างๆ เช่น หากนโยบายเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ภาพรวมของเศรษฐกิจ ก็จะส่งผลรุนแรงต่อค่าเงินในตลาด Forex หากเป็นปัจจัยทางอ้อมอย่างภัยพิบัติธรรมชาติหรือปัจจัยทางจิตวิทยาก็จะส่งผลรองลงมา ต่อตลาด Forex ดังนั้น การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เทรดเดอร์ไม่ควรมองข้ามเพราะสิ่งเหล่านี้จะสามารถกำหนดแนวโน้ม รวมไปถึงการทำกำไรจากปัจจัยเหล่านี้ได้อีกด้วย